วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพยากรสารสนเทศคือ
1.             รวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงาน
2.             ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้
3.             มีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
4.             ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ
ประโยชน์ที่ได้จากระบบสารสนเทศที่มีต่อการบริหารงานในองค์กร คือ
1.             เพื่อการวางแผน กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการบริหารองค์กร
2.             สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
3.             ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร
4.             ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง การบริหารงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ
5.             ใช้ควบคุมระบบการทำงานในองค์กรให้ดำเนินไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
6.             องค์กรมีมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน ทำให้ได้รับความเชื่อถือ
7.             สร้างโอกาสในการลงทุน ทำให้มีการขยายองค์กรให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น

8.             สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพ มีดังนี้


                1) ระบบสารสนเทศทำให้การทำงานของเรามีความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้กระบวนการของการประมวลผลของข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจนกระทั่ง ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว 
                2) ระบบสารสนเทศจะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือข้อมูลที่มีปริมาณเยอะๆและช่วยทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วอีกด้วย
                3) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารของเราเป็นไปอย่างรวดเร็วและการใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือว่าคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารนี้จะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้รวดเร็วทันใจ
                4) ระบบสารสนเทศช่วยลดต้นทุนได้โดยการที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากและมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการไปได้ด้วยความเร็ว หรือการที่ช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการได้อย่างมากเลยทีเดียว
                5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การทำงานหรือการประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะการหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อความสะดวกของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จึงทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงานของหน่วยงานนั้นเป็นไปได้ด้วยดี 


ประสิทธิผล (Effectiveness)

               1) ระบบสารสนเทศจะช่วยในการตัดสินใจเป็นระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร ตัวอย่างเช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะมีความเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี อันจะส่งผลให้การดำเนินงานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ได้
               2) ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การนั้นทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดในรูปแบบของสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ หรือจะช่วยทำให้หน่วยงานนั้นสามารถเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมกับความชำนาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
                3) ระบบสารสนเทศจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ดียิ่งขึ้นและระบบสารสนเทศยังทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถดำเนินไปได้โดยถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย
                4)ระบบสารสนเทศสามารถช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)ซึ่งปัจจุบัน ระบบสารสนเทศได้มีการนำมาใช้ตลอดทั้งระบบซัพพลายตัวอย่างเช่น (Supply Chain) เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
                5 ) ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working Life)และ ระบบสารสนเทศจะต้องได้รับการออกแบบออกมาเพื่อที่จะทำให้ให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการของมนุษย์และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีได้อีกด้วย


ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
   ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ

            ชีวิตความเป้นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย การอยู่รวมกันเป็นสังคมทำให้มนุษย์ต้องสื่อสารถึงกัน ต้องติดต่อและทำงานหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกัน สมองของคนเราจะต้องจดจำสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย ต้องจดจำชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย จดจำข้อมูลต่าง ๆ ไว้ประโยชน์ในภายหลัง สังคมจึงการความเป็นระบบที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น การกำหนดเลขที่บ้าน ถนน อำเภอ จังหวัด ทำให้สามารถติดต่อส่งจดหมายถึงกันได้ ที่อยู่จึงเป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งที่ใช้งานอยู่
           เพื่อให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นระบบมากขึ้น จึงมีการจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์ มีการใช้เลขประจำตัวประชาชนซึ่งประกอบด้วยเลขรหัส 13 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบ
           การเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลก็ต้องมีการลงทะเบียน การสร้างเวชระเบียน  ระบบเสียภาษีก็มีการสร้างรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี นอกจากนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนการค้า ทะเบียนโรงงาน ฯลฯ 
      

รูปที่ 1  บนบัตรประจำตัวและบัตรเครดิตจะมีรหัสเพื่อให้สามารถอ้างถึงข้อมูลของผู้ถือ
การใช้สารสนเทศเกี่ยวข้องกับทุกคน การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็น ปัจจุบันเราซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิต เบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอทีเอ็ม โอนย้ายข้อมูลในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์แถบันทึก แผ่นบันทึก แผ่นซีดีรอม ดังจะเห็นเห็นเอกสารหรือหนังสือบรรจุแผ่นซีดีรอมซึ่งอาจเก็บหนังสือทั้งตู้ไว้ในแผ่นซีดีรอมเพียงแผ่นเดียว

            การสื่อสารข้อมูลที่เห็นเด่นชัดขณะนี้ และมีบทบาทมากอย่างหนึ่ง คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งข้อความถึงกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ผู้ใช้นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ พิมพ์ข้อความเป็นจดหมายหรือเอกสาร พิมพ์เลขที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กททรอนิกส์ของผู้รับและส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์ของตน เพื่อค้นหาจดหมายและสามารถตอบโต้กลับไดทันที


รูปที่ 2 จอภาพแสดงการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
            เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเป็นสิ่งต้องเรียนรู้ เป็นเรื่องที่รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บ จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง จัดรูปแบบเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่ประมวลผลได้ เช่น การเก็บนามบัตรของเพื่อนหรือบุคคลที่มีการติดต่อซึ่งมีจำนวนมาก เราอาจหากล่องพลาสติกมาใส่นามบัตร มีการจัดเรียงนามบัตรตามอักษรของชื่อ 

สร้างดัชนีการเรียกค้นเพื่อให้หยิบค้นได้ง่าย    แต่เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบของการจัดเก็บในลักษณะบัตรมาเป็นการจัดเก็บข้อมูลไว้ในแผ่นบันทึก โดยมีระบบการจัดเก็บและประมวลผลลักษณะเดียวกับที่กล่าว เมื่อต้องการเพิ่มเติมปรับปรุงข้อมูลหรือเรียกค้นก็นำแผ่นบันทึกนั้นมาใส่ในคอมพิวเตอร์ทำการเรียกค้น แล้วแสดงผลบนจอภาพหรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์


รูปที่ 3  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล
             การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ทำได้สะดวก คอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยมสำหรับการจัดการข้อมูลในยุคปัจจุบันขณะเดียวกับที่คอมพิวเตอร์มีราคาที่ลดลงและมีขีดความสามารถสูงขึ้น จึงเชื่อแน่ว่าบทบาทของการจัดการข้อมูลในชีวิตประจำวันจะเพิ่มมากขึ้นต่อไปโครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นโครงสร้างที่จะต้องมีรูปแบบที่จัดเชน และแน่นอน การจัดการข้อมูลจึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์เฉพาะ เช่น การกำหนดรหัสเพื่อใช้ในการจำแนกข้อมูล รหัสจึงมีความสำคัญ เพราะคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกข้อมูลด้วยรหัสได้ง่าย ลองนึกดูว่าหากมีข้อมูลจำนวนมากแล้วให้คอมพิวเตอร์ค้นหาโดยค้นหาตั้งแต่หน้าแรกเป็นต้นไป การดำเนินการเช่นนี้ กว่าจะค้นพบอาจไม่ทันต่อความต้องการการดำเนินการเกี่ยวข้อมูลจึงต้องมีการกำหนดเลขรหัส เช่น เลขประจำตัวประชาชน รหัสเลขทะเบียนคนไข้ ทะเบียนรถยนต์ เลขประจำตัวนักเรียน เป็น การจัดการในลักษณะนี้จึงต้องมรการสร้างระบบเพื่อความเหมาะสมกับการทำวานของคอมพิวเตอร์เป็นสำคัญ

            นอกจากเรื่องความเร็วและความแม่นยำของการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว การคัดลอกและการแจกจ่ายข้อมูลไปยังผู้ใช้ก็ทำได้สะดวก เนื่องจากข้อมูลที่เก็บในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์สามารถเปลี่ยนถ่ายระหว่างตัวกลางได้ง่าย เช่น การสำเนาข้อมูลระหว่างแผ่นบันทึกข้อมูลสามารถทำเสร็จได้ในเวลารวดเร็ว
            ด้วยความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมในยุคของสารสนเทศการปรับตัวของสังคมจึงเกิดขึ้น ประเทศที่เจริญแล้วประชากรส่วนใหญ่จะอยู่กับเครื่องจักรเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีเครือข่ายการให้บริการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่างในขณะที่เราอยู่บ้าน อาจใช้โทรศัพท์ติดต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( internet ) เพื่อขอเรียกดูราคาสินค้า ขอดูข่าวเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา นอกจากนี้ยังมีระบบสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์แม่บ้านใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้านต่อเชื่อมผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์ไปยังห้างสรรพสินค้าเพื่อเปิดดูราคาและรายการสินค้า ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้เมื่อต้องการ
           บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมนี้เอง ผลักดันให้เราต้องศึกษาหาความรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ กระทรวงศึกษาธิการได้เพิ่มเติมหลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ หากไม่หาทางปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและการเรียนรู้ให้เข้าใจ เพื่อให้มีการพัฒนาสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม เราจะเป็นเพียงผู้ใช้ที่ต้องเสียเงินตราให้ต่างประเทศอีกมากมาย


ประโยชน์ของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
           ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดเก็บระบบข้อมูลซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำ GIS มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน การใช้งานระบบสารสนเทศจะมีประโยชน์มากในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ถ้ารู้จักการใช้งาน การใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะต้องมีเป้าหมายชัดเจน รู้จักคัดเลือกข้อมูลมาวิเคราะห์ การใช้งานจะต้องวางแผนงานในการกำหนดคุณภาพ มาตราส่วนของข้อมูลและที่สำคัญคือ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา การบูรณาการข้อมูลหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน และสามารถสร้างแบบจำลองทดสอบเปรียบเทียบข้อมูลก่อนที่มีการลงมือปฏิบัติจริง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สำคัญได้แก่
1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ 
2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช
3. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของฝุ่นและก๊าซ การกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจาก โรงงาน การป้องกันความเสียหายของโบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยว การป้องกันไฟไหม้ป่า เป็นต้น
4. ด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร เพศ อายุ การศึกษา แรงงาน ตำแหน่งของโรงเรียนและการเดินทางของนักเรียน เป็นต้น
5. ด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของประชากรของหมู่บ้าน ตำบล สินค้าหลัก ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น